ร่วง

ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์เพื่อการศึกษา เรื่องความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต


ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต

           อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องเทคโนโลยีสื่อสารที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้แกผู้ใช้บริการ  ในลักษณะของการสื่อสารที่ผ่านทางคอมพิวเตอร์  และช่องทางการสื่อสารชนิดต่างๆ  ไม่ได้เป็นการสื่อสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งโดยตรง  จึงทำให้เกิดทั้งประโยชน์และโทษในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต

      1.ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

          1.สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นทั่วโลก

          2.สามารถค้นหาข้อมูลต่างๆได้เสมือนกับเราไปนั่งอยู่ที่ห้องสมุดขนาดใหญ่ได้ข้อมูลมากมายจากทั่วทุกมุมโลก

          3.เปรียบเสมือนเวที่ให้เข้าไปแสดงความคิดเห็นได้ภายในห้องสนทนา(chat  room) และกระดานข่าว(Web  room)  เป็นการเปิดโลกกว้างและวิสัยทัศน์ในเรื่องที่น่าสนใจ

          4.สามารถติดตามเคลื่อนไหวจากข่าวสารทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

          5.สามารถเปิดการค้าได้ด้วยตัวเอง  โดยไม่ต้องหาที่จัดตั้งร้านหรือพนักงานบริการ  แต่สามารถทำการค้าได้ด้วยตัวเองคนเดียว

          6.สามารถซื้อสินค้า  โดยไม่ต้องเดินทางไปยังร้านค้า  ซื้อผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการ  การชำระเงินก็สะดวก เช่น  ชำระผ่านบัตรเครดิต การหักเงินผ่านบัญชีธนาคาร

          7.สามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(E-mail)  เป็นการส่งจดหมายที่ไม่ต้องเสียค่าบริการและรับส่งจดหมายได้ภายในและภายนอกประเทศ  นอกจากจดหมายที่เป็นข้อความแล้ว  ยังส่งบัตรอวยพรในเทศการต่างๆได้อีก

         8.สามารถอ่านนิตยสาร  หนังสือพิมพ์  บทความ  และเรื่องราวต่างๆได้ฟรีเหมือนกับเราซื้อหนังสือฉบับนั้นมาอ่านเอง

         9.สามารถติดประกาศข้อความต่างๆที่ต้องการประกาศให้ผู้อื่นทราบได้  เช่น  ประกาศขายบ้าน  ประกาศสมัครงาน  ประกาศขอความช่วยเหลือ

         10.มีของฟรีอีกมากมายที่สามารถใช้บริการได้จากอินเทอร์เน็ต  เช่น  ภาพ  เพลง  โปรแกรมคอมพิวเตอร์  ดูหนัง  เกม




             2. โทษของอินเทอร์เน็ต

          1.อินเทอร์เน็ตเป็นเครืข่ายขนาดใหญ่ที่มีผู้คนมากมายเข้ามาใช้บริการ  เป็นเวทีเปิดกว้างและให้อิสระกับทุกคนที่เข้ามาเขียนข้อมูล  หรือติดประกาศต่างๆโดยปราศจากการกลั่นกรองที่ดี  ทำให้ข้อมูลที่ได้รับไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นจริงหรือไม่

          2.เกิดปัญญาหาของการละเมิดลิขสิทธิ์  เช่น  การดาวน์โหลดเพลง  หรือรูปภาพมารวบรวมขาย  หรือเป็นปัญหาอย่างยิ่งคือ  การตัดต่อภาพบุคคลที่มีชื่อเสียงให้กลายเป็นภาพแบบอนาจารหรือเสียหายได้

          3.ก่อให้เกิดปัญหาด้านอาชญากรรม  เพราะการเล่นอินเทอร์เน็ต  เช่น  การล่อล่วงหญิงไปในทางที่ไม่ดี  การก่อคดีข่มขืน  เนื่องจากเว็บไซต์โป๊

          4.ก่อให้เกิดปัญหาการหมกหมุ่นของเยาวชนที่เข้าไปในเว็บไซต์  จนทำให้เกิดโรคติดต่อทางอินเทอร์เน็ต  ทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองเเละสังคมได้


          







      เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง  นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly  S.Young  ได้วิเคราะห์ไว้ว่า  บุคคลใดมีอาการต่อไปนี้  อย่างน้อย  4  ประการ  เป็นเวลาไม่น้อยกว่า  1  ปี  แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต

 รู้สึกหมกหมุ่นกับอินเทอร์เน็ต  แม้ในเวลาไม่เข้าอินเทอร์เน็ต
มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ
ไม่สามารถควบคุ้มการใช้อินเทอร์เน็ตได้
รู้สึกหงุดหงิดเทื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง
คิดว่าเมือใช้อินเทอร์เน็ตเเล้วทำให้ตัวเองรู้สึกดี
ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
หลอกคนใช้ในครอบครัวหรือเพื่อน  เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต
มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต  เช่น  หดหู่  กระวนกระวาย
อาการดังกล่าวมี่มากกว่า  4  ประการในช่วง  1  ปี  จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต  ซึ่งมีผลเสียต่อระบบร่างกาย  ทั้งการกิน  การขับถ่าย  และกระทบต่อการเรียน  สภาพสังคมอีกด้วย
       

  มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต  เรียกว่าบัญญัติ  10  ประการ

ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์หรือละเมิดทำร้ายผู้อื่น
ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
ต้องไม่สอดแนม  แก้ไข  หรือเปิดดูแฟ้มผู้อื่น
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรม
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่น
ต้องไม่ละเมิดในการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีลิขสิทธิ์
ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
ต้องคำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ  กติกา  มารยาท

ที่มา  https://www.l3nr.org/posts/460787


ความหมายของอินเทอร์เน็ต

ความหมายของอินเทอร์เน็ต

          ความหมายของอินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
          อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ


พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต


              อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD)
            - ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) ARPA ได้ถูกก่อตั้งและได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
            - ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปี
            ค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
           - ค.ศ.1983 (พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ
            ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง
         - ค.ศ.1980 (พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน



พัฒนาการของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

พัฒนาการของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

           ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย

         - โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud                                              

         - เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC 

         - สายโทรศัพท์ทองแดง

         โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค โดยใช้โปรแกรม UUCP นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย จากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา

          ปี พ.ศ. 2531 โดยให้ “ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ” และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network  และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย      ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการต่อครั้งเดียว  นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง 

         ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น)หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn"

         ปี พ.ศ. 2535   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ "ThaiNet"

         ปี พ.ศ. 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น

         ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน